รายชื่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

รายชื่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ไฟป่าเชียงใหม่

ภารกิจที่ชาวบ้านหมู่บ้านผาหมอนต้องร่วมกันทำในช่วงนั้น คือ การทำแนวกันไฟให้ไปบรรจบกับหมู่บ้านอีกแห่งในลักษณะเป็นวงกลมล้อมรอบหมู่บ้าน พจนีย์เล่าว่า ที่บ้านผาหมอนมีผู้หญิงแม่บ้าน 5 คน ร่วมออกไปดับไฟกับผู้ชายในหมู่บ้านอีกราว 25 คน การไปยังจุดที่ต้องทำแนวกันไฟเป็นพื้นที่ที่ต้องเดินขึ้นดอย ไม่มีถนน และรถเข้าถึงไม่ได้ พวกเธอต้องเดินเท้าขึ้นไปไม่ต่างกับผู้ชาย ด้วยเครื่องป้องกันที่มีแค่รองเท้าบูทและหน้ากากสำหรับป้องกันควันไฟ

“8 โมงครึ่ง ต้องเดินจากบ้าน ที่ที่ต้องไปเลยหมู่บ้านขึ้นไปเดินไปประมาณหนึ่งชั่วโมง ชาวบ้านจะไม่ค่อยมีอุปกรณ์เท่าไหร่ เพราะไม่มีหน่วยงานไหนมาช่วย มีเสียม จอบ มีด เท่านั้น แต่ก็ดับได้ เพราะเราใช้วิธีเอากิ่งไม้ที่แข็งแรงหน่อยมาทำเป็นแนวกันไฟ”

การออกไปสกัดไฟป่าสองครั้งที่ผ่านมาในปีนี้ เธอออกไปครั้งหนึ่งราว 2-3 ชั่วโมง ชาวบ้านจะพกข้าวห่อเพื่อเป็นอาหารกลางวันไปรับประทานกันเอง วันใดที่ต้องทำแนวกันไฟยาวก็กลับมาถึงหมู่บ้านราวบ่ายสาม และมีครั้งหนึ่งที่ต้องระดมคนไปดับไฟป่ากลางดึกอีกครั้ง

“ที่เราทำไม่ได้คิดถึงส่วนไหน เราทำเพราะบ้านเราเท่านั้น ถ้ารอเจ้าหน้าที่ไฟอาจจะไหม้เยอะกว่านี้ เพราะเขามีคนไม่เยอะ ถ้าเราลงไปเอง วันสองวันก็ดับแล้ว”

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไฟป่าที่บ้านผาหมอนยังอยู่ในระยะเฝ้าระวัง พจนีย์บอกว่าหมู่บ้านของเธอยังดีที่ไฟป่าไม่รุนแรงมากเท่าหมู่บ้านอื่น ที่เจอไฟป่าบ่อยถึงปีละ 3-4 ครั้ง ส่วนเรื่องความปลอดภัย เธอบอกว่าชาวบ้านทุกคนที่ไปดับไฟจะช่วยกันระวัง จุดไหนอันตรายก็บอกกันให้ไม่เข้าใกล้ แต่ข่าวการเสียชีวิตของชาวบ้านที่ออกไปดับไฟก็สร้างความกังวลกับเธอเช่นกัน

“เราไม่แน่ใจเลยว่าลมจะพัดมาทางทิศไหน ถ้าลมเกิดตีมาตรงหน้าเราก็คงเสร็จเลย” พจนีย์กล่าว

 

หญิงชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอคนนี้ ยังบอกอีกว่า สิ่งที่ชาวบ้านต้องการคือ หน้ากากเพื่อใส่ป้องกันขณะออกไปดับไฟ เนื่องจากต้องเผชิญกับควันจำนวนมาก พจนีย์ซึ่งมีโรคประจำตัวเป็นภูมิแพ้อยู่แล้วบอกว่า แต่ละครั้งที่กลับมาก็เกิดอาการคล้ายหวัด เช่นเดียวกับลูกของเธอและเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน นอกจากนี้ชาวบ้านยังต้องจัดกำลังลาดตระเวนและคนดูแลแนวกันไฟ หากรัฐสามารถช่วยได้ก็น่าจะเป็นการสนับสนุนชาวบ้านได้

“เป็นห่วงลูกเกี่ยวกับสุขภาพ เพราะจริง ๆ ดอยอินทนนท์ ถ้าไม่มีไฟป่าอากาศจะดีมาก ขนาดเดือน เม.ย. อุณหภูมิข้างล่าง 40 กว่าองศา ที่นี่ 30 กว่า ๆ กลางคืนยังหนาวอยู่ ปัญหาเกิดจากไฟป่าอย่างเดียวทำให้ทั้ง ผู้ใหญ่และเด็กสุขภาพแย่”

ภัยแล้ง

“ประวิตร” สั่งทุกหน่วยเร่งรับมือภัยแล้งหนักสุด มี 60 จังหวัดเสี่ยงขาดน้ำอุปโภคบริโภค ในเขตชลประทาน มี 8 จังหวัดน้ำไม่พอทำการเกษตร วอนชาวนางดทำนาปรัง

สั่งทุกหน่วยเร่งรับมือภัยแล้ง – นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และประธานการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่ทำเนียบรัฐบาล ได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมาตรการรองรับสถานการณ์ภัยแล้งปี 2562/63 และเน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินมาตรการรองรับสถานการณ์ภัยแล้งปี 2562/63 โดยเฉพาะการป้องกันผลกระทบในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ตามที่การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ได้สำรวจพื้นที่เสี่ยงไว้ล่วงหน้า แบ่งเป็น ในเขต กปภ. 22 จังหวัด และนอกเขต กปภ. ซึ่งปริมาณฝนสะสมน้อย ไม่มีแหล่งน้ำสำรอง ปัจจุบันใช้ประปาท้องถิ่น อีก 38 จังหวัด รวมพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำอุปโภคบริโภค 60 จังหวัด

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯ กำหนดมาตรการรองรับพื้นที่ปลูกข้าวนาปีต่อเนื่องปี 2562 โดยไม่ให้กระทบต่อแผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง ปี 2562/63 เนื่องจากในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมีการจัดสรรน้ำทั้งประเทศเกินแผน 1,350 ล้านลบ.ม. ได้แก่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่จัดสรรน้ำเกินแผน 495 ล้านลบ.ม. ลุ่มน้ำภาคตะวันตกจัดสรรน้ำเกินแผน 579 ล้านลบ.ม. และลุ่มน้ำภาคใต้จัดสรรน้ำเกินแผน 549 ล้านลบ.ม. ขณะที่พื้นที่ปลูกข้าวนาปีจากข้อมูลดาวเทียมในวันที่ 7 พ.ย. 2562 พบว่า พื้นที่ปลูกข้าวนาปี 60.08 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 17.11 ล้านไร่

ทั้งนี้ ยังมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง 1.35 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ในเขตชลประทาน 1.27 ล้านไร่ และพื้นที่นอกเขตชลประทาน 80,000 ล้านไร่ ขณะที่การประเมินพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง 2562/63 จากข้อมูลดาวเทียม ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 21 จังหวัด มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง 229,803 ไร่

“ในเขตชลประทาน มี 8 จังหวัดที่น้ำไม่พอทำการเกษตร ได้แก่ สุพรรณบุรี อุทัยธานี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ จึงขอแจ้งให้ชาวนาทราบว่า ในพื้นที่ภาคกลางให้งดปลูกข้าวนาปรัง โดยเฉพาะพื้นที่ที่ต้องรับน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ จะไม่มีน้ำส่งมาให้ ถ้าปลูกไปก็จะเกิดความเสียหาย ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกนาปรังได้บางพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่รับน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ จะมีพื้นที่ที่พอทำนารอบสองได้ บางพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง สกลนคร นครพนม นครราชสีมา ชลบุรี และระยอง ส่วนในพื้นที่นอกเขตชลประทาน มี 109 ตำบล 54 อำเภอ 20 จังหวัดที่เสี่ยงขาดน้ำเกษตร”

 

ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ติดตามสภาพอากาศ และคาดการณ์ปริมาณฝนในเดือนพ.ย.นี้ พบว่า ปริมาณฝนรวมในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง จะมีค่าต่ำกว่าค่าปกติประมาณ 30% ภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีปริมาณฝนรวมต่ำกว่าค่าปกติประมาณ 20% ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีปริมาณฝนรวมใกล้เคียงค่าปกติ ส่วนเดือนธ.ค. 2562 ปริมาณฝนรวมทั้งประเทศต่ำกว่าค่าปกติประมาณ 50% และเดือนม.ค. ปริมาณฝนรวมทั้งประเทศต่ำกว่าค่าปกติประมาณ 50% ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณฝนรวมใกล้เคียงค่าปกติ

ขณะที่ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำมีทั้งสิ้น 53,316 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 65% แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 23,768 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 50% โดยพบว่ามีถึง 10 เขื่อนขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่า 30% เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนกระเสียว เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ ขณะที่แหล่งน้ำขนาดกลางน้ำน้อย 74 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคเหนือ 28 แห่ง อีสาน 37 แห่ง

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ติดตามสถานการณ์น้ำแม่น้ำโขงที่ลดลงในช่วงฤดูแล้ง โดยสถานการณ์เอลนีโญจะยังคงมีผลต่อภูมิภาคทำให้ไม่มีปริมาณฝนตกในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาทั้งมาตรการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศ โดยมอบหมาย สทนช. เร่งดำเนินการใช้มาตรการด้านความร่วมมือระหว่างประเทศในการผลักดันและแก้ปัญหาแม่น้ำโขง แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์น้ำแล้งในภูมิภาค และมาตรการภายในประเทศในระยะเร่งด่วนป้องกันผลกระทบกับวิถีชีวิตประชาชนและการประกอบอาชีพใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1. จัดหาแหล่งน้ำสำรองและขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล เพื่อสำรองปริมาณน้ำในการอุปโภค-บริโภค 2. มอบหมายกระทรวงมหาดไทยโดยจังหวัด (ริมแม่น้ำโขง) สร้างการรับรู้ความเข้าใจแนวโน้มสถานการณ์วิกฤตน้ำ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้น้ำภาคการเกษตรและประมงได้รับทราบ และ 3. มอบหมายกระทรวงคมนาคมกำหนดมาตรการการขนส่งและการคมนาคมทางน้ำ รวมทั้งมาตรการรองรับการพังทลายของตลิ่งริมฝั่งโขงด้วย

“รองนายกฯ มอบให้หน่วยงานเร่งดำเนินการตามมาตรการแนวทางปฏิบัติตามมติ ครม. ที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งเพื่อป้องกันภัยแล้ง และอุทกภัยทางภาคใต้ โดยต้องมีการเก็บกักน้ำทุกรูปแบบทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน มีการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งปี 2562/63 อย่างรัดกุมเป็นไปตามมาตรการที่กำหนด รวมถึงประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ให้ประชาชนรับทราบสถานการณ์ที่ถูกต้องรวมทั้งการช่วยเหลือของรัฐบาล และรายงานผลการดำเนินการต่อ สทนช.ทุกสัปดาห์เพื่อกำกับ ติดตามผลการดำเนินการ หรือปรับแผนดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์”

 
 
 

เกาะติดข่าวสำคัญ

กดติดตาม “ข่าวสด”