ใบความรู้

(สัปดาห์ที่ 3)

ส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe Photoshop

การเข้าสู่โปรแกรม  Adobe Photoshop

                1. คลิกปุ่ม Start  คลิกรายการ  

                2. คลิกรายการ  Programs

                3. คลิกรายการ Adobe Photoshop 7.0

 

 

 

4. รอสักครู่จะปรากฏหน้าต่างของโปรแกรม Adobe Photoshop 7.0

 

ส่วนประกอบของโปรแกรม  Adobe Photoshop

 

ความหมายส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe Photoshop

1. สัญลักษณ์ของ Photoshop ดับเบิ้ลคลิก เพื่อปิดโปรแกรม Adobe Photoshopไตเติลบาร์ (Title Bar) บอกถึงโปรแกรมที่เปิดใช้งาน

2. เมนูบาร์ (Menu Bar)  แถบเมนูใช้เลือกคำสั่งที่ต้องการ จะปรากฏ Dialog Box ปรับค่าตัวเลือกต่างๆ

                - เมนู File เป็นคำสั่งการทำงานเกี่ยวกับไฟล์ เช่น เปิด/ปิดไฟล์ และคำสั่งอื่น ๆ

                - เมนู Edit ใช้ปรับแต่ง/จัดการแก้ไขต่าง ๆ เช่น การตัด การคัดลอก การเติมสี เปลี่ยนขนาด

                - เมนู Image คำสั่งเกี่ยวกับการปรับภาพ ปรับความสว่างหรืออื่น ๆ

                - เมนู Layer คำสั่งปรับคุณลักษณะของภาพ ช่วยการซ้อนภาพ ผสมภาพ การเรียงลำดับ ก่อน หลัง   ขนาดสัดส่วน โทนสีและอื่น ๆ

                - เมนู Select เป็นคำสั่งการเลือกรูปภาพแบบต่าง ๆ

                 - เมนู Filter คำสั่งทำ Effect ให้ภาพเปลี่ยนไป เช่น ทำให้ภาพคมชัดหรือเบลอ

                - เมนู View คำสั่งในการกำหนดมุมมองภาพในรูปแบบต่าง ๆ การย่อ / ขยาย

                 - เมนู Window เป็นคำสั่งที่ใช้ในการจัดการหน้าต่างแต่ละหน้าต่างที่ปรากฏบนหน้าจอ

                - เมนู Help รวบรวมวิธีการใช้งาน และคำแนะนำเกี่ยวกับโปรแกรม Adobe Photoshop

3. ปุ่มควบคุมการทำงาน                           

4. แถบเครื่องมือ Tool Options Bar กำหนดค่าการทำงานของเครื่องมือใน Toolbox ที่กำลังใช้งานอยู่เป็นฟังก์ชั่นที่เพิ่มเข้ามาใน Photoshop ช่วยให้การทำงานสะดวกยิ่งขึ้น

 

 

5. ทูลบ๊อกซ์ (Toolbox) แถบปุ่มเครื่องมือ

6. สเตตัสบาร์ (Status Bar) บอกถึงสถานะการทำงาน

7. พาเลตต์ (Palette) แถบรวบรวมคุณสมบัติของการทำงานต่าง ๆ

 

 

การใช้ปุ่มเครื่องมือ ToolBox จัดการเกี่ยวกับรูปภาพแบ่งได้ 4 หมวด

 

ปุ่มเครื่องมือเพิ่มเติมใหม่ใน Photoshop CS V 8.0

 

พาเลตต์ต่าง ๆ  (Palettes)  ในโปรแกรม Adobe Photoshop

 


                                                                                                                Navigator ใช้สำหรับดูมุมมองของงาน

เหมือน  Hand Tool และ Zoom Tool

 

 

 

Info ใช้สำหรับค่าสีของภาพ ณ จุดนั้น ๆ

บอกค่าสี RGB และ CMYK ใช้กับปุ่ม Eyedropper

 

 


                    Histograms การใช้กราฟแสดงค่าสี

                    ที่กระจายอยู่ในรูปภาพ

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

การเปิดไฟล์รูปภาพ Photoshop ด้วย Open แสดงเฉพาะไฟล์ที่เป็น .psd .Tiff

1. คลิกเมนู File   คลิกรายการ Open   จะปรากฏหน้าต่าง Open

 

 

2. คลิกเลือกไฟล์ภาพที่ต้องการเปิด จะปรากฏรูปภาพแสดงที่พื้นที่ว่างด้านล่าง

3. คลิกปุ่ม Open โปรแกรมจะทำการเปิดไฟล์ภาพแสดงบนหน้าจอ

 

การสร้างไฟล์ภาพใหม่

1.  คลิกเมนู  File  คลิกรายการ  New

2. จะปรากฏกรอบสี่เหลี่ยม/ไดอะล๊อกบ๊อกซ์

 

 

3. พิมพ์ชื่อไฟล์รูปภาพ ช่อง Name:  View

4. ช่อง  Preset size : / Preset: ขนาดของพื้นที่ชิ้นงาน

5. ช่อง Width  กำหนดความกว้างไฟล์รูปภาพตามที่ต้องการ

6. ช่อง Height กำหนดความสูงของไฟล์รูปภาพตามที่ต้องการ

7. ช่อง Resolution กำหนดความละเอียดของภาพ การใช้งานทั่วไปตั้งไว้ที่ 72 pixels/inches

8. ช่อง Mode /Color Mode กำหนดรูปแบบการแสดงผลของไฟล์ภาพ ส่วนใหญ่งานทั่วไปใช้ RGB 

      กรณี ต้องการพิมพ์งานออกมาหรือใช้ในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ให้ใช้ CMYK จะได้สีที่ออกมาดีกว่า

9. ช่อง Background Contents: เลือกรูปแบบพื้นหลังของภาพ

10. คลิกปุ่ม OK จะได้หน้ากระดาษว่างเป็นไฟล์ภาพใหม่

 

 การบันทึกไฟล์ เพื่อเรียกใช้ในครั้งต่อไป ใน Photoshop มีการบันทึกงานที่ทำโดยสามารถเลือกการบันทึกงานได้ทั้งชื่อที่ต่างกัน และรูปแบบที่ต่างกัน คือ

1.  คลิกเมนู  File  เลือกรูปแบบการบันทึกไฟล์ดังต่อไปนี้

     - คลิกรายการ Save  เป็นการบันทึกงานในรูปแบบปกติ โปรแกรมจะบันทึกงานที่แก้ไขใหม่ในชื่อเดิม ตำแหน่งเดิม หรือบันทึกไฟล์ที่ยังไม่เคยมีการบันทึกมาก่อน

     - คลิกรายการ Save As เป็นการบันทึกงานเดิมเป็นชื่อใหม่ ตำแหน่งใหม่ และให้อยู่ในรูปของรูปแบบใหม่ได้ (ถ้าไฟล์มีการเพิ่มเลเยอร์ โปรแกรมจะบังคับให้ Save เป็น .psd

โดยอัตโนมัติ)

     -  คลิกรายการ Save for Web เป็นกรบันทึกไฟล์ เพื่อให้ได้ภาพที่เหมาะสำหรับการใช้งานบนเว็บ

2. คลิกช่อง Save in : เพื่อกำหนดตำแหน่งของไฟล์ที่ต้องการเก็บ

3. คลิกช่อง Format เลือกชนิดของไฟล์ที่ต้องการ

4. Save Options เลือกคุณสมบัติการจัดเก็บไฟล์

                - As a Copy   การบันทึกไฟล์เป็นชื่อใหม่  เปลี่ยนชนิดไฟล์ใหม่ ขณะไฟล์เดิมเปิดใช้อยู่

                - Alpha Channels จะเก็บคุณสมบัติในการปรับแต่งภาพด้วย Alpha Channel      

              - Annotation   จะเก็บคำอธิบายทั้งภาพและเสียงเพื่อเตือนความจำไว้ด้วย

                -  Layer เก็บคุณสมบัติของเลเยอร์ต่าง ๆ ไว้

                -  Spot Colors เก็บคุณสมบัติของ Spot Channel ไว้

-  Use Proof setup เก็บค่าโหมดสีที่จะใช้แสดงสีของภาพก่อนจะพิมพ์

-  ICC Profile การเก็บค่าโหมดสีที่สนับสนุนไฟล์รูปแบบที่จะ Save

-  Thumbnail  สามารถแสดงภาพตัวอย่างในหน้าจอของการเปิดไฟล์ได้ด้วย

 -  Use Lower Case Extension กำหนดชนิดของไฟล์ให้ตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์เล็ก

5. ใส่ชื่อไฟล์ช่อง File name:

6.  คลิกปุ่ม Save

 

 

7. ปรากฏหน้าต่างการกำหนดคุณสมบัติการจัดเก็บ Save Optionsขอยกตัวอย่างการบันทึกไฟล์เป็นฟอร์แม็ต JPEG จะปรากฏหน้าต่าง JPEG Option ขึ้นและมีค่าตัวเลือกต่าง ๆ ให้กำหนดดังนี้

8. คลิกปุ่ม OK